Offer Category: สินเชื่อ

    เลือกจำนวนและระยะเวลาเงินกู้

    บาท
    เดือน
    วิธีการรับ
    สมัครเลย

    สมัครกู้ยืมเงินด่วนแบบ บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสดหรือเงินกู้นอกระบบ กับหลายบริษัทแล้วจะได้รับผลดีกว่า

    สินเชื่อ ธอส

    รู้จักกับบทนิยมของคำว่าสินเชื่อในรูปแบบของคนไทยคืออะไร

    สินเชื่อคืออะไร หากกล่าวถึงนิยามหรือความหมายที่ตรงตัวและชัดเจนแล้ว คงต้องบอกเลยว่าคำว่าสินเชื่อนั้นไม่ได้ความหมายที่ชัดเจนและตายตัวมากนัก แต่หากจะให้นิยามในแบบฉบับที่เข้าใจง่ายแล้วละก็ สินเชื่อ คือ เงินที่ให้ทำการกู้หรือยืมก่อนเพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามที่ต้องการและต้องชำระคืนในภายหลังพร้อมอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง โดยมากแล้วคำว่า “สินเชื่อ มักใช้กับสถาบันการเงินอย่างธนาคารหรือบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับขอสินเชื่ออย่างถูกกฎหมายมากกว่า ซึ่งหากใช้กันในกลุ่มเพื่อน คนรู้จัก หรืออาจสื่อไปในลักษณะที่ไม่เป็นทางการมากนักมักจะนิยมใช้คำว่า “กู้เงิน” หรือ “ยืมเงิน” แทนที่คำว่า “ขอสินเชื่อ

    สินเชื่อนั้นมีมากมายหลายรูปแบบโดยแตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์และการใช้งาน เช่น สินเชื่อเงินด่วน จะเป็นการเน้นย้ำในเรื่องของความรวดเร็วและเร่งด่วน, สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเป็นการเน้นย้ำในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงและอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำหากเทียบกับสินเชื่อประเภทเดียวกันกับธนาคารหรือสถาบันการเงินรายอื่น อย่างพวกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ

    นิยามความหมายของสินเชื่อในความหมายของต่างประเทศ

    เรามาดูความหมายของคำว่า สินเชื่อ ในภาษาอังกฤษกันบ้างว่าจริง ๆ แล้วในภาษาอังกฤษได้ให้นิยามคำว่าสินเชื่อไว้อย่างไรกันบ้างมาดูกันเลย 

    ในภาษาอังกฤษนั้นได้ให้นิยามของคำว่าสินเชื่อ คือ หนี้รูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคล ที่ผู้ปล่อยสินเชื่อซึ่งก็คือบริษัท, สถาบันการเงิน หรือธนาคารได้ทำการปล่อยจำนวนเงินก้อนหนึ่งให้กับผู้ที่ขอสินเชื่อก่อนล่วงหน้า และในทางกลับกันผู้ขอสินเชื่อก็จำเป็นที่จะต้องยินยอมในเรื่องของการทำสัญญาตามเงื่อนไขในการเรียกเก็บเงินพร้อมอัตราดอกเบี้ยตามวันที่ที่ได้กำหนดในการชำระคืนรวมถึงต้องดำเนินการตามเงื่อนไขสำคัญที่สัญญากำหนดไว้อีกด้วย นอกจากนี้ผู้ที่ปล่อยสินเชื่ออาจร้องขอในเรื่องของหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระสินเชื่อคืน

    อ้างอิงที่มา: https://www.investopedia.com/terms/l/loan.asp

    รูปแบบการให้บริการสินเชื่อในประเทศไทยมีกี่ประเภท

    รูปแบบหรือประเภทสินเชื่อเชื่อที่ให้บริการในประเทศไทยนั้นมีมากมายหลายประเภท ซึ่งบางครั้งก็อาจยากต่อการจำแนกว่า สินเชื่อที่ให้บริการอยู่นั้นอยู่ในสินเชื่อประเภทใดบ้าง ซึ่งหากจำแนกประเภทสินเชื่อตามข้อมูลสินเชื่อที่ให้บริการอยู่ในไทยนั้นสามารถจำแนกได้ออกเป็นลักษณะดังนี้

    • สินเชื่ออเนกประสงค์หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เช่น สินเชื่อกรุงไทยอเนกประสงค์ –  เป็นสินเชื่อที่ผู้กู้หรือผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเงินออกไปใช้ได้โดยไม่ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน โดยสามารถนำเงินที่ได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน, ท่องเที่ยว, ซื้อของ, ใช้เป็นค่าเทอมให้กับลูกหรือนำเงินมาใช้ในการรักษาโรค เป็นต้นซึ่งรูปแบบของการใช้วงเงินสินเชื่อนี้อาจมาในลักษณะของการสมัครบัตรเครดิต (ที่ต้องอาศัยการขอสินเชื่อและใช้บัตรเครดิตในการนำวงเงินสินเชื่อนั้นออกมาใช้งาน) การสมัครบัตรกดเงินสด (ที่จำเป็นใช้นำสินเชื่อหมุนเวียนเข้ามาให้บริการโดยต้องอาศัยบัตรกดเงินสดในการเบิก-ถอนวงเงินสินเชื่อออกมาใช้จ่าย เมื่อชำระเงินคืนวงเงินสินเชื่อดังกล่าวก็สามารถกลับมาใช้ได้เต็มจำนวนอีกครั้ง) หรือสินเชื่อบุคคลรูปแบบต่างๆ
    • สินเชื่อตามวัตถุประสงค์เฉพาะ –  เป็นสินเชื่ออีกประเภทหนึ่งที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานโดยเฉพาะ เช่นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยก็คือสินเชื่อธนาคารที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อให้สามารถนำเงินก้อนนั้นไปใช้ในการซื้อบ้าน สร้างบ้านรวมทั้งต่อเติมบ้าน ซื้อคอนโดหรืออาจรวมถึงการซื้อเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านนั่นเอง สินเชื่อรถเป็นสินเชื่อที่ออกมาในวัตถุประสงค์ของการเช่าซื้อรถกับบริษัทไฟแนนซ์ที่สามารถนำเงินมาซื้อได้ทั้งรถใหม่และรถเก่าโดยขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละผู้ให้บริการ, สินเชื่อเฉพาะกลุ่มวิชาชีพเป็นสินเชื่อที่เปิดให้สามารถกู้ได้เฉพาะกลุ่มอาชีพที่ระบุ เช่น กลุ่มวิชาชีพทางการแพทย์ และกลุ่มผู้ที่ประกอบอาชีพราชการ เป็นต้น, สินเชื่อธุรกิจ SMEs เป็นสินเชื่อในการให้กู้เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ในการประกอบธุรกิจ ลงทุน ต่อยอดกิจการ เป็นต้น

    การจำแนกสินเชื่อสามารถจำแรกได้แบบระยะสั้น (Long term) และระยะยาว (Short term) โดยไม่กำหนดว่าสินเชื่อดังกล่าวจัดอยู่ในสินเชื่อประเภทใด แต่ให้พิจารณาระยะเวลาและวงเงินของข้อมูลสินเชื่อเป็นหลัก โดยมากแล้วสินเชื่อระยะสั้นจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และสินเชื่อระยะยาวจะใช้เวลาในการผ่อนชำระคืนที่มากกว่า 1 ปีขึ้นไป 

    คนไทยแบ่งรูปแบบมิติของสินเชื่อไว้ว่าอย่างไรบ้าง

    แม้ว่าสินเชื่อจะมีมากมายหลายประเภท แต่ในชีวิตความเป็นจริงของเรานั้น การจำแนกสินเชื่อตามข้อมูลสินเชื่อที่ได้อธิบายไว้ในเบื้องต้นนี้แล้วเป็นเพียงแค่ประเภทสินเชื่อหลักๆตามภาษาที่เป็นแบบทางการเท่านั้น ซึ่งหากจำแนกตามการใช้งานจริงและมักได้รับความนิยมในวงกว้าง การจำแนกประเภทสินเชื่อจะถูกแบ่งออกเป็น 4 มิติได้แก่ 

    • มิติในด้านความเร็ว ได้แก่ สินเชื่อเงินด่วน, สินเชื่ออนุมัติไว, สินเชื่อเงินสด 30 นาที และสินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันที เป็นต้น
    • มิติของการคิดอัตราดอกเบี้ยได้แก่ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ, สินเชื่อดอกเบี้ยถูก
    • มิติของความยุ่งยากยากของการอนุมัติสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่ออนุมัติง่าย, สินเชื่อไม่ต้องใช้เอกสาร
    • มิติของจำนวนวงเงิน ได้แก่ สินเชื่อวงเงินสูง, สินเชื่อเงินก้อน 
    • มิติในด้านหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน ซึ่งสินเชื่อบางประเภทต้องอาศัยทั้งบุคคลและหลักทรัพย์ในการค้ำประกัน ซึ่งสอนเชื่อบางประเภทอาจใช้การค้ำประกันเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

    ซึ่งโดยมากแล้วการจำแนกประเภทสินเชื่อนี้จะให้ความสำคัญไปที่สินเชื่อส่วนบบุคลมากกว่าสินเชื่อรูปแบบอื่น

    อยากขอสินเชื่อสามารถขอได้จากที่ไหนบ้าง

    สำหรับแหล่งการให้บริการสินเชื่อหรือแหล่งบริการเงินด่วนในไทยสามารถจำแนกได้โดยแบ่งตามการจดทะเบียนการให้บริการว่าผู้ที่ให้บริการสินเชื่อจัดอยู่ในกลุ่มรูปแบบการให้บริการแบบใด โดยแบ่งออกเป็น 3 แหล่งการให้บริการหลักได้แก่ 

    • ธนาคาร 

    อย่างที่ทราบกันดีว่าธนาคารนั้นเป็นการให้บริการด้านการเงินที่ครบทั้งวงจร ไม่ว่าจะเป็น บริการด้านเงินฝาก, การเปิดบัญชี, บริการสินเชื่อประเภทต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ สินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา การขายประกันในอื่น ๆ บริการด้านบัตรเครดิต และสำหรับบางธนาคารนั้นก็มีบริการด้านบัตรกดเงินสดอีกด้วย หากอธิบายให้เข้าใจโดยง่ายก็คือธนาคารเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินที่ครบทั้งวงจรในทุกด้าน โดยการให้บริการนั้นก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแต่ละธนาคารและฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่เอื้ออำนวยต่อการออกรูปแบบผลิตภัณฑ์นั่นเอง  

    • บริษัทประเภท Non-Bank

    Non-Bank หรือก็คือบริษัทหรือผู้ให้บริการด้านการเงินตามประเภทต่าง ๆ ที่ได้จดทะเบียนบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย โดยการจดทะเบียนนี้ก็จะจำแนกรูปแบบการให้บริการออกไปอย่างชัดเจน เช่น การจดทะเบียนการให้บริการด้านสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อเงินด่วน สินเชื่ออเนกประสงค์ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการจดทะเบียนการให้บริการด้านบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดก็สามารถทำได้ 

    สำหรับบริการด้านสินเชื่อที่ได้รับความนิยมจากบริษัทประเภท Non-Bank มักเป็นสินเชื่อประเภทสินเชื่อนาโนถูกกฎหมาย (สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์) หรือก็คือสินเชื่อเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และสินเชื่อส่วนบุคคล

    • แหล่งบริการเงินด่วนนอกระบบ

    สามารถเป็นได้ทั้งแหล่งบริการเงินด่วนที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายก็ได้ โดยปัจจัยที่จะชี้ชัดว่าแหล่งบริการเงินด่วนนอกระบบเป็นแหล่งบริการที่ถูกหรือผิดกฎหมายนั้นจะขึ้นอยู่กับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนั่นเอง ซึ่งหากพูดถึงการให้บริการสินเชื่อในปัจจุบัน นอกจากมองในเรื่องของการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแล้วตามที่กฎหมายไทยกำหนดแล้ว อาจจำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องของการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย เพราะเนื่องจากว่าการให้บริการสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์จำเป็นที่จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนการเปิดให้บริการ

    ขอสินเชื่อกับธนาคารและขอสินเชื่อกับ Non-Bank แตกต่างกันอย่างไร

    ความแตกต่างระหว่างการขอสินเชื่อจากทั้ง 2 แหล่งให้บริการสินเชื่อนี้ อาจพิจารณาได้จาก 3 ด้าน ได้แก่ 

    • อัตราดอกเบี้ย: การคิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยการให้บริการสินเชื่อถูกกว่าการให้บริการสินเชื่อกับบริษัท Non-Bank โดยธนาคารสามารถคิดอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปีในขณะที่บริษัทประเภท Non-Bank สามารถคิดอัตราดอกเบี้ยจากข้อมูลสินเชื่อที่ให้บริการอยู่ไม่เกินร้อยละ 36 ต่อปี ซึ่งธนาคารจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเพราะแบกรับความเสี่ยงน้อยกว่านั่นเอง

      • วงเงินสินเชื่อ: ธนาคารสามารถปล่อยวงเงินสินเชื่อได้สูงกกว่าการให้บริการสินเชื่อจากบริษัท Non-Bank ซึ่งธนาคารสามารถปล่อยวงเงินสินเชื่อได้สูงสุดหลักล้านบาท แต่สำหรับ Non-Bank สามารถให้บริการสินเชื่อได้เพียงแค่หลักหมื่นและหลักแสนต้นๆเพียงเท่านั้น
    • ระยะเวลาในการผ่อนชำระคืน: ระยะเวลาในการผ่อนชำระคืนสินเชื่อของธนาคารจะเน้นไปที่การชำระเงินคืนในระยะเวลาที่ยาวนานตั้งแต่ 47-72 เดือนสำหรับสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งหากพิจารณาระยะเวลาการผ่อนชำระคืนสินเชื่อของบริษัท Non-Bank จะอยู่ใน่ช่วงการผ่อนชำระคืนระยะสั้นในช่วง 3-15 เดือนเท่านั้น

    อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าหากเปรียบขอบเขตการให้บริการระหว่างทั้ง 2 แหล่งบริการทางการเงินนี้แล้ว ธนาคารจะให้รายละเอียดสำคัญในลักษณะขอบเขตที่ใหญ่กว่า

    เปิดช่องทางการขอสินเชื่อล่าสุดในไทยพร้อมแนวโน้มเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง

    ปัจจุบันปี 2567 หรือปี 2024 ได้มีเทรนด์การให้บริการด้านสินเชื่อที่ฉีกกฎการให้บริการสินเชื่อในรูปแบบดั้งเดิมหรือแบบเก่า ๆ ไปเป็นอย่างมาก โดยรูปแบบเก่าจะให้รับบริการได้เฉพาะผ่านจุดบริการสาขาเท่านั้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่ด้วยความเติบโตในเรื่องของการใช้สื่อออนไลน์ที่เข้ามามีบทบาทประกอบกับพฤติกรรมการใช้งานสื่อออนไลน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ทำให้ซึ่งรูปแบบการให้บริการสินเชื่อในรูปแบบดั้งเดิมก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จึงต้องมีการปรับตัวและประยุกต์การให้บริการเข้าสู่โลกออนไลน์ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเงินด่วน, สินเชื่อเงินสด 30 นาที หรือแม้กระทั่งสินเชื่อออนไลน์อนุมัติทันทีที่ให้ความสำคัญด้านความเร็วเป็นหลักอีกทั้งยังเป็นการขอสินเชื่ออนุมัติง่ายกว่ารูปในรูปแบบดั้งเดิม เพราะสามารถดำเนินการทั้งหมดได้ผ่านออนไลน์ จึงทำให้ทั้งผู้เล่นรายเก่าอย่างธนาคารและผู้เล่นหน้าใหม่อย่างบริษัท Non-Bank รวมทั้งผู้ให้บริการแอปพลิเคชันยืมเงินนอกระบบต้องกระโดดเข้ามาเล่นในสื่อออนไลน์ด้วยเช่นกัน ดังนั้นรูปแบบการปล่อยสินเชื่อที่รวดเร็วก็จะเป็นการให้บริการที่ได้เปรียบและเหนือกว่าคู่แข่งในทุก ๆ ราย

    ขอสินเชื่อออนไลน์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

    การขอสินเชื่อออนไลน์นั้นมีทั้งข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป หากมองในแช่ของความสะดวกและเรียบง่ายในการสมัครสินเชื่อ การยื่นสมัครสินเชื่อออนไลน์มักสามารถทำได้รวดเร็วกกว่าในเรื่องของขั้นตอนการดำเนินการที่ลดลง เพราะเพียงแค่จัดเตรียมเอกสารและทำการอัพโหลดเอกสารผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร สถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องก็สามารถเริ่มต้นการสมัครสินเชื่อได้เลยในทันที่โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังธนาคารหรือสาขาให้เกิดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเป็นการเข้าถึงแหล่งเงินได้จากทุกที่อีกด้วย แต่ถึงกระนั้นการขอสินเชื่อออนไลน์ก็ยังมีจุดที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะเท่าที่ทราบกันดีว่าการกู้เงินออนไลน์มักมีโอกาสที่อาจถูกโกงได้หากเราไม่ทราบว่าแหล่งบริการเงินด่วนที่เราไปใช้บริการหรือสมัครยื่นกู้สินเชื่อนั้นเป็นแหล่งเงินที่ถูกหรือผิดกฎหมาย ซึ่งหากโชคร้ายไปยื่นกับแหล่งบริการเงินด่วนที่ผิดกฎหมายก็อาจเกิดการเสียทรัพย์มากกว่าการได้เงินมาใช้เสียอีก ดังนั้นก่อนการตัดสินใจว่ากู้เงินหรือขอสินเชื่อจากที่ใด เราจึงควรวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและผลที่จะตามมาจึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

    เตรียมเอกสารอะไรบ้างหากอยากขอสินเชื่อให้ผ่าน

    ปัจจัยด้านเอกสารก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยผลักดันให้การขอสินเชื่อผ่านไปได้อย่างราบรื่น แน่นอนว่าการขาดเอกสารเพียงบางส่วนหรือเอกสารไม่ชัดเจนก็อาจส่งผลให้การขอสินเชื่อนั้นมีโอกาสที่จะไม่ผ่านการอนุมัตินั่นเอง เรามาดูกันว่ามีเอกสารอะไรบ้างที่สำคัญต่อการใช้ยื่นกู้สินเชื่อ

    1. เอกสารประจำตัวเป็นเอกสารที่บอกสถานะของตัวเอง ว่าหากต้องการขอสินเชื่อธนาคาร ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้กับใคร อยู่อาศัยที่ใด ซึ่งเอกสารประกอบการขอสินเชื่อที่เป็นส่วนตัว ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวพนักงานของบริษัทหรือหน่วยงาน เอกสารทะเบียนสมรส และเอกสารการเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล 
    2. เอกสารแสดงรายได้ ถือว่าเป็นจุดที่สำคัญที่สุดในการยื่นกู้หรือขอสินเชื่อธนาคาร เพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินในทุกที่จะพิจารณาปัจจัยเอกสารด้านนี้ก่อนเป็นหลัก ได้แก่ ใบสลิปเงินเดือนที่แสดงรายได้ของแต่ละเดือนโดยมาจะใช้ย้อนหลัง 3-6 เดือน (หากประกอบอาชีพอิสระอาจใช้ย้อนหลัง 12 เดือน), สเตทเม้นท์เงินฝากย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน นอกจากนี้หากมีเอกสารหลักฐานประเภทอื่นที่ใช้แสดงฐานะทางการเงินหรือรายได้ประกอบเพิ่มเติม ก็สามารถใช้สมัครยื่นกู้หรือขอสินเชื่อได้เช่นกัน
    3. เอกสารหลักทรัพย์ค้ำประกัน ใช้ในการประกอบการขอสินเชื่อเพื่อวางไว้เป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดการเบี้ยวหนี้หรือผิดนัดชำระในหลายงวดติดต่อกัน ซึ่งเอกสารหลักทรัพย์ค้ำประกันในการยื่นกู้สินเชื่อประกอบด้วย สำเนาโฉนดที่ดิน, เอกสารหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง, สำเนาการซื้อขายที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

    รวมปัจจัยสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อในมุมมองของธนาคารและบริษัทประเภท Non-Bank

    การพิจารณาสินเชื่อจากธนาคารอย่างเช่น บริการออมสินปล่อยสินเชื่อล่าสุด 10000 เป็นต้น หรือบริษัท Non-Bank เช่น Line-BK ว่าจะอนุมัติให้ผ่านหรือไม่ผ่านนั้น จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่โดยมากแล้วเกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อหลักๆ มักมาจาก

    • จำนวนรายได้ของผู้ยื่นขอสินเชื่อ: การมีรายได้สูงนั้นไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าการขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่เป็นเสมือนใบเบิกทางให้ธนาคารจะสามารถพิจารณาต่อไปได้ในปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม ซึ่งจำนวนรายได้มักบอกถึงความสามารถที่มีของผู้กู้นั่นเอง แต่หากมีรายได้สูงแต่มีภาระหนี้ที่ต้องแบกรับเยอะ การมีรายได้สูงก็ไม่อาจทำให้ธนาคารสามารถพิจารณาสินเชื่อให้ผ่านได้ 
    • ความมั่นคงทางรายได้: ถึงแม้ว่ารายได้อาจจะไม่มากนัก แต่หากพูดในเรื่องของความมั่นคงทางรายได้ด้วยแล้ว ธนาคาก็อาจมองว่าการมีรายได้สม่ำเสมอก็ยังพอที่จะสามารถชำระหนี้ได้อยู่อย่างเรื่อย ๆ และเป็นประจำ ซึ่งแตกต่างจากการมีรายได้ที่ไม่แน่นอนและคงที่ ซึ่งยากต่อการคาดเดา
    • พฤติกรรมการชำระเงินคืน: แม้ว่าการมีรายได้สูงและไม่มีภาระเคยมีภาระหนี้ใด ๆ มากก่อน การขอสินเชื่อกับธนาคารในครั้งแรกโดยที่ไม่ทราบพฤติกรรมด้านการชำระเงินคืน ก็อาจเป็นอีกหนึ่งที่การอนุมัติสินเชื่อให้ผ่านต้องถูกปรับตกไปเพียงเพราะ ธนาคารอาจยังไม่ทราบพฤติกรรมในการชำระเงินคืนนั่นเอง

    ภาระหนี้ที่ต้องแบกรับ: การปล่อยสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ, สินเชื่อธนาคาร หรือแม้แต่สินเชื่อจากสถาบันการเงินรายอื่น ก็มักพิจารณาถึงสภาพภาระหนี้ที่ต้องแบกรับ ซึ่งหากมีภาระหนี้สูงต่ออัตรารายได้ที่ได้รับ และมีแนวโน้มจะใช้จ่ายไม่เพียงพอ เหล่าสถาบันการเงินหรือแหล่งบริการเงินด่วนบางรายก็อาจไม่สามารถอนุมัติการขอสินเชื่อได้